Thai Ridgeback

 

มาตรฐาน ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อ : 7 ก.ค. 2536

การจัดหมู่ของ FCI: กลุ่ม 5 ประเภทสปิตซ์และพันธุ์ดั้งเดิม
หมู่ 7 ประเภทดั้งเดิมขสุนัขล่าสัตว์ไม่มีการทดสอบการทำงาน

ปัจจุบัน Thai Kennel จัดให้อยู่ใน Hound Group

สรุปประวัติโดยย่อ: สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานเป็นสุนัขพันธุ์เก่าพันธุ์หนึ่ง ซึ่งสามารถ พบเห็นได้จากบันทึกโบราณที่เขียนในประเทศไทย เมื่อราว 350 ปีมาแล้ว สุนัขพันธุ์นี้ถูกนำมาใช้ล่าสัตว์โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย นอกจากนี้มันยังถูกนำมาใช้เป็นสุนัขตามเกวียนและเป็นสุนัขเฝ้าบ้านอีกด้วย เหตุที่สุนัขพันธุ์นี้ยังรักษารูปลักษณ์เดิมของมันไว้ได้เป็นเวลานานก็คือ ระบบ คมนาคมในภาคตะวันออกของประทศไทยนั้นไม่ดี ทำให้การผสมข้ามพันธุ์เกิดขึ้นได้น้อยมาก

ลักษณะทั่วไป: สุนัขขนาดกลาง มีขนสั้น มีอานซึ่งเกิดจากขนอยู่บนหลัง ลำตัวยาวกว่าความสูงที่หัวไหล่เล็กน้อย กล้ามเนื้อพัฒนาดี และโครงสร้างภายในทั่วไปเหมาะกับการเคลื่อนไหว

สัดส่วนที่สำคัญ ความยาวของลำตัว ต่อ ขนาดความสูง (ที่ withers) = 11 ต่อ 10ความลึกของอก ต่อ ขนาดความสูง (ที่ withers) = 5 ต่อ 10 ความยาวของฃ่วงปาก ต่อ ความยาวของหัว = 2 ต่อ 3

พฤติกรรม/อารมณ์ : อดทน และตื่นตัว ความสามารถในการกระโดดดีเยี่ยม

ส่วนหัว บริเวณกะโหลก: ด้านบนของหัวมีลักษณะแบนและลาดลงเล็กน้อยสู่ดั้งจมูกดั้งจมูก: เห็นได้ชัดพอควร การหักมุมไม่มากเกินไป (ค่อนข้างแบน และมีร่องเล็กน้อย)

บริเวณหน้าใบหน้า: รูปลิ่ม
จมูก: สีดำ
สันจมูก: ตรงและยาว
ช่วงปาก: สุนัขสีน้ำตาล (fawn) อาจจะมีลักษณะปากมอม
ริมฝีปาก: ปิดสนิท ริมฝีปากตึงไม่ห้อยย้อย
ปาก: มีปานดำบนลิ้น
ขากรรไกร: ขากรรไกรบนหน้าหนาพอควร และ ขากรรไกรล่างแข็งแรง
ฟัน: ขาวและแข็งแรง ขบแบบกรรไกร
ตา: ขนาดกลาง รูป almond (คล้ายผลสมอ) ตาสีน้ำตาลเข้ม ในพวกสีสวาด อนุโลมให้ตามีสีน้ำตาลอมเหลืองได้
หู: ตั้งอยู่ 2 ข้างด้านบนของหัว ทำให้หูอยู่ห่างกัน หูเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดหูค่อนข้างใหญ่ ตั้งและเอียงไปด้านหน้าเล็กน้อย ต้องไม่มีการตัดหู
คอ: มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ชูหัวให้สูง

ลำตัว
หลัง: แข็งแรง
เอว: แข็งแรง และ กว้าง
บั้นท้าย: มนปานกลาง
อก: ลึกถึงข้อศอก ซี่โครงโค้งได้รูป แต่ไม่ทำให้อกกลมรูปถัง
เส้นล่าง: ท้องเว้าขึ้น
หาง: โคนหางใหญ่แล้วค่อย ๆ เรียวสู่ปลาย ปลายหางยาวถึงส้นเท้า (hockjoint) หางตั้งหรือโค้งคล้ายเคียว

ระยาง
ขาหน้า: ขาหน้าตรง
ขาหลัง: โคนขาใหญ่ เข่างอ ข้อขาหลัง (hock) แข็งแรงเล็บสีดำ หรืออาจมีสีอ่อนจนเป็นสีน้ำตาลการก้าวเดิน: ก้าวเท้าโดยทำให้ลำตัวไม่กระเพื่อมมากหรือลำตัวเอียง ซ้าย- ขวา
เดินเป็นแนวขนาน 2 แนว เมื่อมองจากด้านหน้าขาหน้าจะเคลื่อนขึ้นลงเป็นแนวตรงในลักษณะที่ไหล่ ข้อศอกและ ข้อขาหน้าเกือยอยู่ในแนวเดียวกัน เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นเข่าและข้อ สะโพกเกือบอยู่ในแนวเดียวกัน เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นแนวตรง โดยเท้าไม่สะบัดเข้าหรือ
ออก ช่วงการก้าวเท้ายาวมีแรงขับที่ดี ลักษณะทั่วไปของสุนัขที่เคลื่อนที่นั้นจะเป็นไปอย่างนุ่มนวล และมีจังหวะที่สมดุลย์ดีผิว: อ่อนนุ่มและกระชับกับลำตัว

ขน
เส้นขน: สั้นและเรียบ อานเกิดจากเส้นขนที่เกิดขึ้นในแนวตรงข้ามกับเส้นขนปกติ โดยอาน จะเริ่มบริเวณหัวไหล่ (withers) อานอยู่หลัง withers แล้วยาวไปถึงบริเวณสะโพก อานควรเห็นได้ชัดเรียวและสมดุลย์กันทั้ง 2 ข้างของลำตัว นิยมพวกที่มีอานแคบ
สี: สีพื้น: น้ำตาลแดง (ยิ่งเข้มยิ่งดี), ดำ, และสวาด*
ขนาด: ความสูงที่หัวไหล่: เพศผู้ 24-26 นิ้ว, เพศเมีย 22-24 นิ้ว**

ข้อบกพร่อง: สิ่งที่ต่างไปจากลักษณะข้างต้นควรถือเป็น ข้อบกพร่องและความร้ายแรงของข้อบกพร่องควรพิจารณาจากสัดส่วนความมากน้อยของข้อบกพร่องนั้น

การขบของฟันผิดไปจากการขบแบบกรรไกร
อานไม่สมดุล

ข้อบกพร่องชนิดไม่ตัดสิน: สุนัขไม่มีอาน: ขนยาว, ฟันผิดปกติ, ฟันซี่ที่สำคัญขาด หางงอม้วน,ลูกอันฑะไม่มี, หูตกในกรณีที่สุนัขอายุเลย 6 เดือนไปแล้ว

* สีของสุนัขไทยที่ยื่นให้กับ FCI ยังไม่สมบูรณ์ ควรมีการปรับปรุงมาตรฐานพันธุ์ภายหลัง
** แต่ในปัจจุบัน สุนัขไทยในบ้านเราเพศผู้จะสูง 22-25 นิ้ว เพศเมีย 19-22 นิ้ว
หมายเหตุ: สุนัขเพศผู้ควรมีลูกอัณฑะทั้งสองลูกอยู่ในถุงอัณฑะ

มาตรฐานพันธุ์ ที่กล่าวมาข้างต้น คือข้อมูลซึ่งทาง DAT (สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่งประเทศไทย)ส่งให้ FCI รับรอง และ FCI ได้ รับรองมาตรฐานพันธุ์สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน เป็นสุนัขพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งของโลก เมื่อวันที่ 28 ก.ค 2536 ตามมาตรฐาน FCI หมายเลข 338/JUL.28,1993/GB สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขพันธุ์เดียวของไทยในปัจจุบันนี้ ที่ได้รับการรับรองโดยนานาชาติดังนั้น คนไทยทุกคนควรจะรักษาและพัฒนาสุนัขพันธุ์นี้ให้คงอยู่ไว้ตลอดไป


Copyright 2002 by bokbokclub.cjb.net All rights reserved Email K_chananyu@yahoo.com